ที่มาของรูป : http://www.bloggang.com/data/voranai/picture/1175150540.jpg
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับวิถีชีวิตครอบครัวจากความเปรียบในบทร้องลิเก โดยมีขอบเขตในการศึกษาบทร้องเพลง
รานิเกลิงซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของลิเก ผู้วิจัยศึกษาจากวีดิทัศน์การแสดงลิเกคณะต่าง ๆ ในเขตภาคกลางที่แสดงอยู่ในปัจจุบัน ความเปรียบที่ศึกษา ได้แก่ อุปมา อุปลักษณ์ สัญลักษณ์ และบุคลาธิษฐาน วิธีดำเนินการใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่าแนวคิดเกี่ยวกับวิถีชีวิตครอบครัวจากความเปรียบในบทร้องลิเกแบ่งเป็น 2 ประเด็น คือ แนวคิดเกี่ยวกับสามีภรรยา และแนวคิดเกี่ยวกับพ่อแม่และลูก แนวคิดเกี่ยวกับสามีภรรยานั้นมีแนวคิดสำคัญ คือ สามีเป็นผู้นำครอบครัวต้องออกไปทำงานด้วยความขยันขันแข็งเพื่อเลี้ยงดูครอบครัวให้มีความสุข สามีภรรยาย่อมมีความรักต่อกัน อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน และภรรยานั้นมีความสำคัญต่อสามี ครอบครัวที่ขาดผู้นำย่อมลำบากเพราะขาดที่พึ่งพิง สามีที่รู้ว่าภรรยานอกใจย่อมเสียใจและอับอาย ผู้หญิงควรมีสามีคนเดียว หญิงที่มีสามีหลายคนย่อมไร้ค่าและถูกประณาม ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับพ่อแม่และลูกนั้นมีแนวคิดว่าลูกย่อมเป็นสุดที่รัก เป็นสิ่งมีค่าและเป็นสิ่งผูกพันความรักของพ่อแม่ ลูกที่ขาดพ่อแม่ย่อมมีความทุกข์ ความเดือดร้อน ลูกเลี้ยงที่อยู่กับแม่เลี้ยงต้องทุกข์ยากเดือดร้อนไม่มีความสุขเพราะถูกรังแกอยู่เสมอ การนำลูกคนอื่นมาเลี้ยงแม้จะเป็นความเสี่ยงว่าเมื่อเด็กเติบโตขึ้นมาจะดีหรือร้ายก็ต้องเลี้ยงดูด้วยความรักและเมตตา ลูกที่อกตัญญูย่อมเป็นภัยใกล้ตัวที่ทำให้พ่อแม่เดือดร้อน การศึกษาครั้งนี้ทำให้ประจักษ์ถึงคุณค่าทางภาษาในบทร้องลิเกว่าสามารถนำเสนอแนวคิดและสะท้อนภาพวิถีชีวิครอบครัวอันจะทำให้เข้าใจสภาพสังคมไทยได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ!!
ที่มา : http://ejournals.swu.ac.th
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น