ที่มาของภาพ : http://preede.files.wordpress.com/2011/09/3.jpg?w=468
1.1 รูปแบบเหมือนจริง (Realistic)
หมายถึง การสร้างงานที่เหมือนจริงดังที่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติ โดยยึดหลักการสร้างสรรค์ และการนำเสนอดังที่ตามองเห็น
เช่น การเขียนภาพคนเหมือน ภาพสัตว์ ภาพทิวทัศน์ ภาพหุ่นนิ่งใน งานจิตรกรรม การปั้น การแกะสลัก และการหล่อรูปบุคคลสำคัญที่ทำเป็นอนุสาวรีย์ในงานประติมากรรม เป็นต้น การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์รูปแบบเหมือนจริง เป็นการนำทัศนธาตุต่าง ๆ มาสร้างสรรค์โดยการจัดองค์ประกอบศิลป์ แสดงรายละเอียดของผลงานให้เหมือนจริงดังที่ตามองเห็น เช่น งานจิตรกรรม
หมายถึง การสร้างงานที่เหมือนจริงดังที่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติ โดยยึดหลักการสร้างสรรค์ และการนำเสนอดังที่ตามองเห็น
เช่น การเขียนภาพคนเหมือน ภาพสัตว์ ภาพทิวทัศน์ ภาพหุ่นนิ่งใน งานจิตรกรรม การปั้น การแกะสลัก และการหล่อรูปบุคคลสำคัญที่ทำเป็นอนุสาวรีย์ในงานประติมากรรม เป็นต้น การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์รูปแบบเหมือนจริง เป็นการนำทัศนธาตุต่าง ๆ มาสร้างสรรค์โดยการจัดองค์ประกอบศิลป์ แสดงรายละเอียดของผลงานให้เหมือนจริงดังที่ตามองเห็น เช่น งานจิตรกรรม
1.2 รูปแบบแบบตัดทอน (Distortion)
หมายถึง การสร้างสรรค์งานศิลปะในลักษณะบิดเบือนไปจากของจริง โดยจะให้ความสำคัญกับรูปแบบที่เหมือนจริงน้อยลง แต่ให้ความสำคัญกับรูปแบบจากความคิดของศิลปินมากขึ้น เพื่อสื่อความงามในการรับรู้ให้เข้าใจง่ายและรวดเร็ว การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์รูปแบบแบบตัดทอน เป็นการนำทัศนธาตุมาจัดองค์ประกอบศิลป์ของผลงาน โดยการบิดเบือนไปจากของจริงตามความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินเพื่อสื่อความงามในการรับรู้ให้เข้าใจง่ายและรวดเร็ว
หมายถึง การสร้างสรรค์งานศิลปะในลักษณะบิดเบือนไปจากของจริง โดยจะให้ความสำคัญกับรูปแบบที่เหมือนจริงน้อยลง แต่ให้ความสำคัญกับรูปแบบจากความคิดของศิลปินมากขึ้น เพื่อสื่อความงามในการรับรู้ให้เข้าใจง่ายและรวดเร็ว การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์รูปแบบแบบตัดทอน เป็นการนำทัศนธาตุมาจัดองค์ประกอบศิลป์ของผลงาน โดยการบิดเบือนไปจากของจริงตามความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินเพื่อสื่อความงามในการรับรู้ให้เข้าใจง่ายและรวดเร็ว
1.3 รูปแบบตามความรู้สึก (Abstraction)
หมายถึง การสร้างสรรค์งานศิลปะที่ไม่มีรูปแบบและเรื่องราวเหมือนจริง แต่มุ่งแสดงอารมณ์ความรู้สึกของศิลปินที่ถ่ายทอดลงในผลงาน การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์รูปแบบตามความรู้สึก เป็นการนำทัศนธาตุมาใช้ในการจัดองค์ประกอบศิลป์และกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก เช่น ความสนุกสนาน ความตื่นเต้น ความน่ากลัว ความเศร้า ความสับสน ความร้อนแรง ความรัก เป็นต้น
หมายถึง การสร้างสรรค์งานศิลปะที่ไม่มีรูปแบบและเรื่องราวเหมือนจริง แต่มุ่งแสดงอารมณ์ความรู้สึกของศิลปินที่ถ่ายทอดลงในผลงาน การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์รูปแบบตามความรู้สึก เป็นการนำทัศนธาตุมาใช้ในการจัดองค์ประกอบศิลป์และกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก เช่น ความสนุกสนาน ความตื่นเต้น ความน่ากลัว ความเศร้า ความสับสน ความร้อนแรง ความรัก เป็นต้น
ที่มา : http://preede.wordpress.com
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น